งูกินหาง
วิธีการเล่นงูกินหาง
แบ่งผู้เล่นไม่จำกัดเพศออกเป็น 2 ฝ่ายเท่าๆ กัน (ไม่จำกัดจำนวนแล้วแต่ผู้เล่นจะมากน้อยเพียงใด) ทั้งสองฝ่ายนี้จะเป็นหญิงฝ่ายหนึ่งชายฝ่ายหนึ่ง หรือชายหญิงรวมกันก็ได้ เมื่อแบ่งพวกแล้วต่างฝ่ายก็จับหรือกอดบั้นเอวกัน บางแห่งให้ผู้เล่นทั้งหมดยืนกอดบั้นเอวกันทั้งหมด มีเพียงคนเดียวไปยืนร้อง "แม่งูเอย แม่งูวัดโบก โยกไปก็โยกมา" หรือเป็นเพลงทำนองอะไรก็ได้ แต่ต้องขึ้นประโยคว่าแม่งู ทั้งนี้ก็เพื่อให้ลูกแถวแม่งูเกิดการเผลอตัว ขาดความระมัดระวัง คนที่ร้องเพลงก็วิ่งไปจับตัวหางแม่งูได้ง่ายส่วนกรณีที่แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่ายเท่าๆ กันนั้น คนหัวหน้าสุดจะนับ 1 -2-3 (นับฝ่ายเดียว) แล้วเริ่มกินหาง คนที่อยู่หน้าสุดทั้งสองฝ่ายต่างพยายามจะจับคนท้าย คนท้ายสุดที่เรียกว่าหางงู ต้องรู้จักหลบหลีกว่องไวอย่าให้เขากินหางได้ เมื่อฝ่ายใดจับหางอีกฝ่ายหนึ่งได้แล้ว ฝ่ายที่จับได้จะเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายที่ถูกกินหางเป็นฝ่ายแพ้ หางงูจะถูกยึดไปทีละคนไปยืนกอดเอวคนร้องเพลงแล้วแต่จะตกลงกันว่า กินหางกี่คนจึงจะหยุดเล่น
การตัดสินงูกินหาง
- แบบที่แบ่งผู้เล่นออกเป็นสองฝ่ายเท่าๆ กัน ถือว่าฝ่ายหนึ่งกินหางอีกฝ่ายได้นั้นเป็นฝ่ายชนะ ฝ่ายถูกกินหางเป็นฝ่ายแพ้จะต้องรำแล้วแต่ฝ่ายชนะจะกำหนด เพียงเพื่อให้เกิดความสนุกสนานรื่นเริงเท่านั้น
- แบบที่ให้ผู้เล่นกอดบั้นเอวกันเพียงฝ่ายเดียว เมื่อถูกกินหางคนที่เป็นหางวิ่งหนีไม่ทันและถูกกินจะต้องไปกอดเอวฝ่ายตรงข้าม (คนที่ร้องเพลงแม่งู) แล้วแต่ตกลงกันว่า ได้หางแม่งูกี่คนแล้วการเล่นจึงจะยุติ
เทศกาลที่เล่นงูกินหาง
นิยมเล่นแข่งขันกันในวันตรุษสงกรานต์ หรือวันว่างที่ชุมชนกำหนดขึ้นเป็นพิเศษคุณประโยชน์ของงูกินหาง
เพื่อความสนุกสนานเพลิดเพลิน ออกกำลังกายและเกิดความสมานสามัคคีในหมู่คณะขอขอบคุณข้อมูลจาก สุภักดิ์ อนุกูล. เรื่อง "การละเล่นพื้นบ้าน ภาคกลาง + ภาคตะวันตก". และข้อมูลภาพจาก http://siamtradition.blogspot.com
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น