ดีดลูกหิน
ดีดลูกหิน เป็นการละเล่นที่ไม่ต้องการคนมาก เพียงจำนวน 2-3 คนก็เล่นได้ อุปกรณ์เพียงลูกหิน และมีลานดินเพียงเล็กน้อยก็เล่นได้
วิธีการเล่นดีดลูกหิน
จัดทำลานดินให้เรียบ เตรียมลูกหินที่ทำด้วยก้อนดินเหนียว ปั้นกลม วางไว้ให้แห้งแข็ง หรือถ้ามีลูกแก้วก็ใช้ลูกแก้วแทนได้ เริ่มแรกต้องขุดหลุมเล็กๆ ขนาดโตกว่าลูกหินสักเล็กน้อย จากนั้นขีดเส้นตรงบนพื้นบนพื้นลานเป็นเส้นกำหนดสำหรับยืนดีดห่างจากหลุมประมาณ 5-6 ก้าวเริ่มเล่นให้ทุกคนยืนที่เส้นโยนลูกหินเข้าไปที่หลุม ของใครใกล้หลุมมากที่สุดจะได้เป็นผู้เล่นก่อน การดีดลูกหินมี 2 แบบ คือยืนดีดกับนั่งดีด จะยืนจะนั่งท่าใดก็ได้ตามถนัด ที่สำคัญต้องให้นิ้วหัวแม่มือปักดิน ไว้ตรงจุดลูกหินของตนเองวางอยู่ การดีดต้องดีดด้วยนิ้วกลาง ตาเล็งมองไปยังลูกหินที่จะยิง เมื่อพร้อมแล้วต้องดีดแรงๆ ให้ลูกหินถูกเป้า ถ้าขณะดีดมีการยกหัวแม่มือขึ้นจากพื้นถือว่าผิดกติกา การดีดครั้งแรกต้องดีดให้ลงหลุม ถ้าลูกหินลงหลุมจะได้ 1 คะแนนทันที จากนั้นเป็นการดีดทำคะแนนต่อ ด้วยการดีดให้ถูกลูกหินที่อยู่ใกล้ที่สุดก่อน ดีดถูกจะได้คะแนน 1 คะแนน เรื่อยไปกระทั่งครบ 10 คะแนน ใครได้ 10 คะแนนก่อนถือว่าเป็นผู้ชนะ กรณีที่ดีดไม่ถูกลูกหินคนอื่นอีกทั้งไม่ลงหลุม เรียกว่า ตาย ไม่มีสิทธิ์เล่นต่อ ต้องเปลี่ยนให้คนที่ลูกหินอยู่ใกล้หลุมเป็นคนเล่น การทำคะแนนนอกจากจะได้คะแนนจากการดีดลูกหินคนอื่นแล้ว ถ้าดีดลงหลุมได้ก็ได้คะแนน 1 คะแนนเช่นเดียวกัน การเล่นจะเล่นกันกี่คนก็ตาม เมื่อใครได้9 คะแนนแล้วคะแนนสุดท้ายจะดีดลงหลุมไม่ได้ ต้องดีดถูกลูกหินคนอื่นที่เขานำไปวางล่อไว้ที่ตรงไหนก็ได้ให้เราดีด ถ้าลูกหินล่อวางไกลเกินไป คิดว่าจะดีดไปไม่ถึงก็อาจดีดลูกลงหลุมก่อนก็ได้ แล้วจึงดีดจากปากหลุมไปโดนลูกหินของใครก็ได้ที่อยู่ใกล้ที่สุด ก็จะได้ 1 คะแนน (รวมเป็น 10 คะแนน) เช่นเดียวกันการตัดสินดีดลูกหิน
การเล่นจะเล่นกี่คนก็ตาม ผู้แพ้จะมีเพียงคนเดียว คือคนท้ายสุดที่มีคะแนนไม่ครบ 10 ผู้แพ้จะต้องนำลูกหินของตนไปวางที่ปากหลุมให้ผู้ชนะผลัดกันดีด เมื่อดีดครบทุกคนแล้ว ผู้แพ้ต้องพยายามดีดลูกหินของตนให้ลงหลุมให้ได้ ถ้าไม่สามารถทำได้ ก็ถูกลงโทษด้วยการนำลูกหินไปวางปากหลุมให้เพื่อนดีดใหม่เทศกาลที่เล่นดีดลูกหิน
นิยมเล่นในเทศกาล หรืองานที่ชุมชนร่วมกันจัดขึ้นคุณประโยชน์ของดีดลูกหิน
เกิดความสนุกสนาน รู้แพ้ รู้ชนะ รู้อภัย ฝึกการกะระยะและความอดทนในการรอคอยขอขอบคุณข้อมูลจาก สุภักดิ์ อนุกูล. เรื่อง "การละเล่นพื้นบ้าน ภาคกลาง + ภาคตะวันตก".
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น