เดินกะลา ขาโถกเถก
เดินกะลา ขาโถกเถก เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่มีการเรียกชื่อการเล่นสองชนิดที่นำมาเล่นด้วยกัน ชนิดแรก ทำด้วยกะลามะพร้าวผ่าครึ่ง 1 คู่ วางคว่ำลงกับพื้น เจาะรูร้อยเชือกที่ก้นกะลา ข้างละ 1 เส้น ความยาวเท่าที่ใช้มือดึงได้ขณะที่ยืนอยู่บนกะลา ชนิดที่สอง นำไม้ไผ่ท่อนเล็ก มาคะเนให้มีความสูงตามต้องการทำเครื่องหมายไว้แล้วเจาะรูตรงเครื่องหมายให้ทะลุไปด้านตรงข้าม หาไม้เหนียวๆ สอดนำไปในรูสลัก เอาไม้ท่อนโตมาบากรูสวมทางปลายไม้ไผ่เลื่อนให้ลงมาอยู่ตรงสลัก แล้วพันด้วยผ้ากันไม่ให้เจ็บง่ายเท้า
วิธีเล่นเดินกะลา ขาโถกเถก
- ชนิดที่ 1 ยืนบนกะลามะพร้าว ใช้หัวแม่เท้ากับนิ้วชี้คีบเชือกไว้ดึงเชือกให้ตึงพร้อมกับการยกเท้าก้าวเดิน
- ชนิดที่ 2 ขึ้นเหยียบท่อนไม้โตมือจับท่อนเล็กให้ตั้งฉากกับพื้น ใช้ง่ามเท้าคีบไม้ท่อนเล็กการก้าวเดินเหมือนกับการเดินธรรมดา ยิ่งตั้งความสูงไว้มากผู้เล่นผู้ดูต่างก็ยิ่งสนุก
การตัดสินเดินกะลา ขาโถกเถก
ไม่มีการตัดสินเทศกาลที่เล่นเดินกะลา ขาโถกเถก
เล่นได้ทุกเทศกาล เช่น ปีใหม่ เข้าพรรษา วันสงกรานต์ เป็นต้นคุณประโยชน์ของเดินกะลา ขาโถกเถก
เป็นการฝึกเด็กใช้มือและมีความคิดสร้างสรรค์ในการเล่น มีการฝึกการทรงตัว ฝึกความอดทน ก่อให้เกิดความมานะพยายามความสนุกสนานเพลิดเพลิน ที่สำคัญหากได้มีการฟื้นฟูบางอย่างให้เหมาะสมจะเป็นการช่วยทางด้านเศรษฐกิจ เช่นการนำวัสดุในท้องถิ่นมาทำเป็นของเล่นเป็นต้น
ขอขอบคุณข้อมูลจาก สุภักดิ์ อนุกูล. เรื่อง "การละเล่นพื้นบ้าน ภาคกลาง + ภาคตะวันตก".
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น