Sample Text

วันอาทิตย์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2557

ชักเย่อ

ชักเย่อ

ชักเย่อ


ชักเย่อ เป็นการละเล่นพื้นบ้านที่สามารถใช้เป็นกิจกรรมเชิงเสริมสร้างความสามัคคีได้โดยไม่จำกัดว่าเป็นองค์กร หน่วยงานหรือชุมชน ในภูมิภาคใด เพราะเป็นการละเล่นพื้นบ้านที่สนุกสนานและยังถือได้ว่าเป็นการกีฬาประเภทหนึ่งด้วย ซึ่งการละเล่นหรือการแข่งขันนั้นต้องแบ่งผู้เล่นเป็นสองฝ่ายๆ ละเท่าๆ กัน และถ้ามีจำนวนมากกว่า 1 ทีมก็ต้องมีการจัดโปรแกรมการแข่งขันกันอีกที

วิธีเล่นชักเย่อ

หาเชือกขนาดใหญ่เหนียว 1 เส้น ยาวประมาณ 10-20 เมตร หากึ่งกลางของความยาวเชือก ใช้กระดาษสีหรือผ้าสีสดผูก จากนั้นแบ่งคนเล่นเป็นสองพวกจำนวนเท่ากัน แต่ละพวกให้ยึดปลายเชือกไว้คนละข้าง กรรมการขีดเส้นตรงลงบนพื้น 1 เส้น นำส่วนที่ผูกด้วยกระดาษสี ผ้าสีวางทับเส้นตรงที่ขีดให้มีลักษณะเป็นกากบาท เมื่อผู้เล่นพร้อมจึงให้สัญญาณ (ใช้การตีธงหรือให้สัญญาณเสียงนกหวีดก็ได้) ทั้งสองฝ่ายจะออกกำลังดึงเชือกอย่างเต็มความสามารถ

การตัดสินชักเย่อ

ขณะที่มีการชักเย่อ ผู้ตัดสินจะยืนอยู่ใกล้กึ่งกลางเชือกเมื่อเห็นว่าข้างใดดึงเชือกไปทางแดนของตนมากสุดก็ตัดสินให้ชนะ

เทศกาลที่เล่นชักเย่อ

ในฤดูแล้งเล่นได้ตลอดเวลา การเล่นจะเล่นในที่แจ้งสนามหญ้า ทุกเทศกาลที่ต้องการให้เกิดความสนุกสนาน รื่นเริง เนื่องจากไม่ต้องเตรียมอุปกรณ์มาก

คุณประโยชน์ของชักเย่อ

เกิดความสามัคคีพร้อมเพรียง เป็นการออกกำลังกายและรื่นเริงสนุกสนาน

ขอขอบคุณข้อมูลจาก สุภักดิ์  อนุกูล. เรื่อง "การละเล่นพื้นบ้าน  ภาคกลาง + ภาคตะวันตก". 

0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

สังคมออนไลน์

Twitter Delicious Facebook Digg Stumbleupon Favorites More